
ITIL ย่อมาจาก Information Technology Infrastructure Library (ITIL) เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาประมาณ 20 ปี แ่ต่เพิ่งได้รับความสนใจใน USA มาประมาณ 4-5 ปีมานี่เอง โดยปัจจุบัน ITIL กำลังจะเป็นเรื่องสำคัญในหัวข้อ Information Technology เกิดเป็นกระแส (buzz-word) และก่อให้เกิด Certification และการประชุม สัมนาที่เกี่ยวข้อง
ITIL เป็ํนกรอบความคิด(Framework) ของกระบวนการ (process) ในการบริหารระบบ Information และการที่ ITIL เป็น framwork ดังนั้นมันจึงไม่ได้กำหนดรายละเอียดของกระบวนการ หรือขั้นตอนในการบริหารระบบ IT
ที่มาของ ITIL
ITIL เกิดขึ้นที่อังกฤษปลายยุค 80 โดยหน่วยงานที่ชื่อ CCTA (The Central Computer and Telecommunication Agency - ปัจจุบันถูกรวมกับ Office of Government Commerce) หน่วยงานดังกล่าวได้มีแนวคิดว่าคุณภาพของงานบริการด้าน IT เป็นผลมาจากกระบวนการบริหารที่ดี CCTA จึงได้พัฒนาและนำเสนอกรอบแนวคิดของ ITIL ขึ้นโดย ITIL เวอร์ชัน 1.0 เรียกว่า GITIMM (Government Information Technology Infrastructure Management Method)
ในช่วงต้นจนถึงปี 2000 มีการตีพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวข้องออกมา 32 เล่มและในปี 2000 Microsoft ได้พัฒนาระบบการจัดการ Microsoft Operations Framework (MOF) โดยใช้แนวคิด ITIL เป็นพื้นฐาน
และในปี 2001 ได้มีการเรียบเรียงแนวคิดในการจัดการขึ้นใหม่เพื่อให้กระชับและทันสมัยเกิดเป็น ITIL version 2 โดยมีหนังสือที่เกี่ยวข้องเหลือเพียง 8 เล่มคือ
• Service Support
• Service Delivery
• Business Perspective
• ICT Infrastructure Management
• Applications Management
• Security Management
• Planning and Implementation
• Software Asset Management
โดยปัจจุบันได้มีหลายองค์กรได้นำแนวคิดดังกล่าวไปพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติในการบริหาร IT (Best practice) เช่น Microsoft, IBM, HP Procter & Gamble
แนวคิดในเรื่อง Service Support และ Service Delivery ได้ทำให้หลายองค์กรจัดหน่วยงานด้าน IT ใหม่โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
- Demand site (Service delivery) เป็นส่วนที่ต้องติดต่อกับผู้ใช้ หรือลูกค้าเน้นการสร้าง Solution ให้ผู้ใช้ ลูกค้า ดูแลให้การพัฒนางานด้าน IT ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้งบริหารค่าใช้จ่ายด้าน IT
- Supply site (Service Support) บริหารงานเช่นศูนย์คอมพิวเตอร์ การดูแล Server, พัฒนา Application, Helpdesk และ Support Desk
ประโยชน์ู้ ITIL มาใช้นั้น คือประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่สามารถปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น ซึ่งได้แก่
- การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้คุ้มค่ามากขึ้น
- สร้างเสริมความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด
- ช่วยลดงานซ้ำซ้อนหรืองานที่ไม่จำเป็นลงได้
- ช่วยทำให้งานแต่ละโปรเจคท์ดำเนินไปได้ตามที่วางแผนไว้
- ปรับปรุงความสามารถในการให้บริการ IT แก่ลูกค้าให้ดีขึ้น
- สามารถหาต้นทุนของการให้บริการที่มีคุณภาพตามที่กำหนดได้
- สามารถให้บริการที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าได้ตามที่สัญญาไว้
Links
แก่นของ ITIL
No comments:
Post a Comment